.

.
"สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"
ข่าวประชาสัมพันธ์



ขอประกาศเลิกอัฟเดทข้อมูลที่Blogแห่งนี้
สามารถเข้าไปใช้งาน website อย่างเป็นทางการได้ที่
http://www.tsa-bhu.org/


ข่าวเด่น

* ขอแสดงความยินดีแด่.. พระครูใบฎีกา ดร. มานิตย์ เขมคุตโต , พระมหา ดร. ธีรชัย ปุญฺญชีโว , พระ ดร. ราเชนทร์ วิสารโท ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ B.H.U. ในปี ๒๕๕๓






* สมาคมพระนักศึกษาไทย มหาววิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันลงอุโบสถ ที่วัดไทยสารนาถ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธัมเมกขสถูป เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์





สมาคมพระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้ร่วมใจกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ "๑๓ เมษา เสนคุปต้ามหาสงกรานต์" ประจำปี ๒๕๕๓ ณ หอเสนฯ โดยมีคณาจารย์ทางมหาลัย และต่างชาติเข้าร่วมนับร้อยชีวิต ในวันที่ ๑๓ เมษายน ที่ผ่านมา





* พระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ (๕ ธันวามหาราช) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล





* ๕ ธันวามหาราช ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษาไทย และนานาชาติ จำนวน ๘๒ รูป และร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้ที่ หอเสนคุปตลอล์จ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒





* กฐินสังฆประชาสามัคคี ณ หอเสนคุปตาลอจ์ด มหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นำโดย พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา


สตรีที่สวยที่สุดบนผืนภิภพ

โดย...เมย์ เมย์ จัง
กล่าวถึงสตรีรูปงามทรงเสน่ห์ บริบูรณ์ด้วยลักษณะงามทั้งภายนอกภายใน หลายคนคงนึกถึงสตรีที่ผู้มีความงามที่เคยสดับมา ถ้าในสมัยพุทธกาลก็คงเป็นนางวิสาขา สำหรับชาวจีนก็คือนางซาซี ผู้มีความงามหยดย้อยหาที่ติมิได้ หรือแม้กระทั่งคลีโอพัตราของชาวกรีก ผู้ทรงเสน่ห์ให้บุรุษแม้ร่างกายชายชาตินักรบยังจิตใจอ่อนไหวได้
แล้วท่านล่ะ คิดว่าใคร ?
ถ้าให้เลือกสตรีที่กล่าวมา หลายคนคงเลือกนางวิสาขา เพราะนางวิสาขามีความงามประกอบไปด้วยเบญจกัลยาณีคือความงาม๕ ประการ เท่านั้นยังไม่พอ นอกจากเบญจกัลยาณีซึ่งเป็นความงามภายนอกแล้ว นางวิสาขายังมีความงามภายในอีกด้วย คือจิตใจที่งดงาม มีศรัทธาในพระพุทธศาสนายากจะหาสตรีผู้ใดเปรียบ
แต่ทว่า เมื่อเอ่ยถึงสตรีอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดีสำหรับผู้ศึกษาวรรณกรรมพุทธศาสนา จะเห็นว่ามีความงดงามเป็นเลิศอย่างแท้จริงโดยไม่มีผู้ใดจะปานเปรียบได้...แม้กระทั่ง นางวิสาขามหาอุบาสิกา
นางผู้นี้เป็นใคน ?
นางผู้นี้เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ในปฐมสมโพธิกถาพรรณนาไว้ว่า “พระนางทรงพระอุดมรูปกายินทรีย์อันงามโดยยิ่ง หาหญิงอื่นในพื้นสากลโลกธาตุจะมีสิริวิลาสเสมอหามิได้” และกล่าวอีกว่า “พระธิดานี้ ทรงพระอุดมรูปสิริวิลาส จะปูนเปรียบปานเสมอสองนั้นหามิได้ ทรงซึ่งนารีลักษณะ ๖๔ พร้อมบริบูรณ์ เป็นเอกอัครรัตนกัญญา ตั้งแต่อโธทิศาภาคอเวจีตราบเท่าถึงอุทธังคทิศภวัคคพรหมเป็นที่สุด มิได้มีเทพมนุษย์นารีใดจะเปรียบปาน” จะเห็นความแตกต่างระหว่างพระราชธิดานี้กับนางวิสาขา มิใช่ความแตกต่างระหว่างลูกกษัตริย์กับลูกเศรษฐี ต่างกันที่นางวิสาขามีความงามเบญจกัลยาณี ๕ ประการ ต่างกันที่พระธิดาพระองค์นี้มีอิตถีลักษณะถึง ๖๔ ประการ จะงดงามเท่าใดก็ดูที่ข้อความว่า
“...มิได้มีเทพยดามนุษย์นารีใดจะเปรียบปาน”
ความพรรณนาต่อไปว่า “พระราชธิดาได้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ในกาลก่อน”
“อันว่าบุรุษทั้งหลายได้เห็นซึ่งพระสรีรรูปก็ถึงซึ่งเคลิ้มสติสมปฤดีหลงใหล หาสติสัมปชัญญะมิได้ แม้บริโภคโภชนาหารอยู่ก็เปิบคำข้าวใส่นาสิกและกรรณและบนศีรษะให้สำคัญว่าใส่เข้าปาก ถึงซึ่งวิปปการต่างๆ และมนุษย์ทั้งหลายได้ทัศนาการเห็นพระบวรรูปสิริวิลาสล้วนมีจิตปฏิพัทธ์สิเน่หายิ่งนัก ปิ้มปานประหนึ่งว่าจะเป็นอุมมัตตกะชาติ ถึงซึ่งสติวิปลาสด้วยพระรูปโฉมถ้วนทุกๆคน”
ชัดเจนและแจ่มแจ้ง ในความงามของพระธิดาองค์นี้ ผู้ที่ยืนยันถึงความงามชนิดนี้ได้ท่านหนึ่งก็คือ โกณฑัญญะ สมัยนั้นพระเจ้าสีหนุมีพระประสงค์จะให้โอรสของตนอภิเษกกับสตรีผู้มีความงามถึงพร้อมด้วยอิตถีลักษณะ ๖๔ ประการ จึงรับสั่งให้พราหมณ์ ๘ คนออกค้นหาสตรีดังกล่าวนี้
โกณฑัญญะ เป็นหนึ่งในพราหมณ์ทั้ง ๘ ผู้เจนจบไตรเพทและศิลปะศาสตร์ ๑๘ ประการ
พราหมณ์ทั้ง ๘ เที่ยวสืบเสาะหาสตรีดังกล่าวนี้ทั่วทั้ง ๘ หมื่อน ๔ พันตำบล ก็มิได้พบสตรีที่มีลักษณะ ๖๔ ประการ ได้เห็นแต่สตรีที่มีอิตถีลักษณะ ๑๘ ประการอยู่บ้าง ก็มิได้ย่อท้อ
จึงผ่านมายังเมืองเทวทหะนคร
ได้เห็นพระธิดาพระองค์หนึ่ง ประทับบนบัลลังก์ที่แวดล้อมไปด้วยนารีบริวารทั้งหลาย จึงได้เข้าไปดูใกล้ๆ
ความตอนนั้นพรรณนาว่า “พราหมณ์ทั้ง ๘ มิอาจดำรงสถิตอยู่ได้ ด้วยได้เห็นพระสิริลักษณะวิลาศล้ำเลิศอเนกนิกรนารี ถึงมุฬหะสัญญีวิปลาสจากสติสมปฤดี(เสียสติหลงไม่รู้ตัว) บ่มิรู้สึกตนว่านุ่งห่มผ้าประดับกายาประการใด เจรจาพึมเพ้อหลงใหลมีนานัปการ”
พระราชธิดาเห็นเหตุการณ์นั้น จึงใช้ให้นางปริจาริกาผู้หนึ่งไปถามดูให้รู้เหตุ ขณะนั้นโกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้ถึงฝั่งแห่งศิลปะศาสตร์ ๑๘ ประการ มีบุญบารมีที่ได้บำเพ็ญมาแต่กาลก่อนกลับได้สติสัมปชัญญะ มีสมาธิตั้งจิตขึ้นได้ แจ้งวัตถุประสงค์ของตนกับพวกให้นางปาริจาริกา ทราบ
พระราชธิดารับสั่งให้โกณฑัญญะมาเฝ้า และตรัสถามถึงความประสงค์ของพราหมณ์ พระธิดามีเสียงอันไพเราะยิ่งนัก ผู้ใดได้ฟังเสียงก็ถึงกับหัวใจทะลวง จนถึงกับสลบล้มพับไปต่อหน้าต่อตา
ดังความพรรณนาว่า
“เมื่อโกณฑัญญะ ได้สดับพระสุรศัพท์สำนวนมธุรสารเสนาะ ดุจสำเนียงแห่งท้าวมหาพรหม ปานประดุจเสียงสกุณการะเวกและเสียงขับแห่งสกุณกินนรีอันไพเราะ เป็นปิยกถาบริบูรณ์ไปด้วยลักษณะอันนำมาซึ่งมโนภิรมณ์แห่งมหาชนทั้งปวง ครุวนาดุจทำลายอุระล้วงเข้าไปจับเอาดวงหฤทัยและลำไส้ใหญ่น้อย และพราหมณ์นั่นก็มัวเมาไปด้วยราคฤดี มีกายและจิตลำบากก็ล้มลงวิสัญญีภาพในที่นั่น”
โกณฑัญะพราหมณ์ เพียงได้ยินเสียงพระธิดาก็เป็นลมสลบไปต่อหน้าต่อตาตรงนั้น จนพระธิดาให้เอาน้ำสีโตทกะวารีมารดกาย จึงได้ฟื้นคืนสติ แล้วเจรจาเรื่องที่พระเจ้าสีหนุรับสั่งให้ตามหาสตรีที่มีลักษณะ ๖๔ ประการ เพื่อจะทำการอภิเษกกับพระราชกุมารของพระองค์นามว่า สุทโธทนะ เป็นลำดับไป
ในที่สุดพระธิดาผู้เลิศพระองค์นี้ ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสุทโธทนะและทรงมีพระราชโอรสผู้ยิ่งใหญ่พระนามว่า สิทธัตถะราชกุมาร ผู้มาบังเกิดในพระครรภ์ของพระนาง เพื่อตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณโปรดสรรพสัตว์เพื่อพ้นจากทุกข์สังสารวัฏฏ์ต่อไป
ก็พระราชธิดาผู้เลิศยิ่งนี้ ทรงพระนามว่าอะไรเล่า ?

Comments :

0 ความคิดเห็น to “สตรีที่สวยที่สุดบนผืนภิภพ”

แสดงความคิดเห็น

 

ผู้ติดตาม

ออนไลน์หน้านี้

free counters