.

.
"สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"
ข่าวประชาสัมพันธ์



ขอประกาศเลิกอัฟเดทข้อมูลที่Blogแห่งนี้
สามารถเข้าไปใช้งาน website อย่างเป็นทางการได้ที่
http://www.tsa-bhu.org/


ข่าวเด่น

* ขอแสดงความยินดีแด่.. พระครูใบฎีกา ดร. มานิตย์ เขมคุตโต , พระมหา ดร. ธีรชัย ปุญฺญชีโว , พระ ดร. ราเชนทร์ วิสารโท ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ B.H.U. ในปี ๒๕๕๓






* สมาคมพระนักศึกษาไทย มหาววิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันลงอุโบสถ ที่วัดไทยสารนาถ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธัมเมกขสถูป เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์





สมาคมพระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้ร่วมใจกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ "๑๓ เมษา เสนคุปต้ามหาสงกรานต์" ประจำปี ๒๕๕๓ ณ หอเสนฯ โดยมีคณาจารย์ทางมหาลัย และต่างชาติเข้าร่วมนับร้อยชีวิต ในวันที่ ๑๓ เมษายน ที่ผ่านมา





* พระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ (๕ ธันวามหาราช) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล





* ๕ ธันวามหาราช ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษาไทย และนานาชาติ จำนวน ๘๒ รูป และร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้ที่ หอเสนคุปตลอล์จ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒





* กฐินสังฆประชาสามัคคี ณ หอเสนคุปตาลอจ์ด มหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นำโดย พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา


พาราณสี ม.เมืองหมาก

เมืองพาราณสีเป็นเมืองที่เก่าแก่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองแห่งสินค้าที่มีการติดต่อซื้อขายกับเมืองอื่นๆ และเป็นเมืองที่ไม่เคยเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี แม้แต่สถานที่ตั้งเมืองก็ไม่เคยเปลี่ยน ที่ยังคงอยู่ติดฝั่งแม่น้ำคงคาตราบเท่าทุกวันนี้ แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในอินเดียนั่นก็คือ หมาก (Betel palm) ภาษาท้องถิ่นหรือภาษาฮินดี(Hindi) เรียกว่า “ปาน” (PAN) เป็นหมากที่สามารถเคี้ยวได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย พูดง่ายๆว่า เคี้ยวได้ทั้งชายหญิง ขอทานยันเศรษฐี กุลี(คนขนกระเป๋า)กับคนขับรถไฟก็ไม่เว้น รวบเข้ามาอีกก็คือเคี้ยวเกือบทุกวงการในสังคมอินเดียอ่ะนะ
ขึ้นชื่อว่าหมากทุกคนคงจะรู้จักกันดีในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว เขมร ศรีลังกา หรือแม้แต่ไทยเราเองก็รู้จักดี แต่ว่าหมากในอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือเมืองพาราณสี การเคี้ยวหมากของคนแดนภารตะมีมานานประมาณ ๒๐๐ปีแล้ว จากการศึกษาพบว่าหมากมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑.หมากเพื่ออวยพรให้โชคดี โชคลาภ ในประวัติศาสตร์นั้นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ จะเป็นผู้ออกรบเองในการต่อต้านศัตรูผู้รุกรานพร้อมๆกับพลทหาร เพื่อจะขยายอาณาเขตของตน ทุกคนที่จะออกรบนั้นจะต้องเคี้ยวหมากก่อน เพื่อให้โชคดีในการออกไปรบ แต่ในปัจจุบันนั้นสิ่งเหล่านี้ได้หายเลือนรางจากไป เพราะว่าการสู้รบทุกวันนี้กษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้ออกรบเอง มีแต่พลทหารที่ออกรบและมีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพและศูนย์เสียน้อยที่สุด แต่ทุกวันนี้ที่เห็นได้ชัดก็คืองานแต่งงานก็จะต้องมีการเคี้ยวหมากเหมือนกันและเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากๆ เพียงแต่เปลี่ยนจากคนแต่งเป็นแขกที่มาในงานเป็นคนเคี้ยวหมากแทนก็คือ เมื่อฤดูกาลหน้าหนาวเข้ามาชาวอินเดียมักชอบแต่งงานในหน้าหนาวมีการจัดสถานที่และพิธีอย่างใหญ่โตเชิญแขกมามากมายในงานมีการเลี้ยงอาหารคาวหวาน ทุกคนจะต้องรับประทานอาหารและหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็จะมีการเอาหมากมาแจกแขกที่มาในงาน โดยเฉพาะคนที่เป็นใหญ่เป็นโต หรือคนที่มีชื่อเสียงจะต้องได้เคี้ยวหมาก ไม่ฉะนั้นจะถือว่างานจบไม่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าการเคี้ยวหมากเขาบอกว่าจะมีความสุขพร้อมกับได้คุยกับญาติพี่น้องถามข่าวทุกข์สุข การเคี้ยวหมากเป็นขั้นตอนสุดท้ายจนกว่าแขกจะกลับบ้านหมด แม้แต่การหาฤกษ์หายามก็จะต้องมีหมากมาเกี่ยวข้องเหมือนกัน

๒.หมากเพื่อบูชาในทางศาสนาฮินดู หมากเพื่อบูชาก็เป็นหมากที่เคี้ยวกันอยู่ในปํจจุบัน หากแต่ว่าหมากที่จะนำไปบูชานั้นเอาเฉพาะใบพลูที่เป็นสีเขียวและยังสดอยู่รวมกับผลลูกหมาก ใบที่จะต้องนำไปบูชานั้นจะต้องเป็นใบที่ไม่มีรอยฉีกขาดหรือไม่มีการตัดใบแบ่งครึ่ง หมากที่เคี้ยวกันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีทั้งหมากที่เป็นซองและที่เป็นหมากสดที่นั่งขายตามร้านเล็กๆ หมากที่เป็นซองนั้นเป็นหมากแห้งสำเร็จรูป เมื่อซื้อมาแล้วก็ฉีกเคี้ยวได้เลย หมากที่เป็นซองนั้นก็มีระดับชั้นเหมือนกัน ถ้าเป็นหมากสำหรับชนชั้นที่สูงเคี้ยวนั้นก็เป็นหมากที่แพงดีกว่าหมากธรรมดา ราคาอยู่ประมาณ ๒๕รูปี ต่อ ๑ซองๆหนึ่งเคี้ยวได้ครั้งเดียว ไม่มีการแบ่งครึ่ง เพราะหมากในหนึ่งซองจะผสมตัวยาครบตามสูตร คนสามัญชนก็สามารถซื้อมาเคี้ยวได้ แต่ว่าเงินไม่ค่อยมีลำพังอาหารที่จะมารับประทานก็ลำบากพออยู่แล้ว หมากที่ชนชั้นสูงซื้อนั้นมีขายอยู่ในตัวเมืองมีหลายตลาดเช่น โกเดาเลีย(Godaulia), โกดาวาลิ (Godauwali) หรือแม้แต่ตลาดลังกา (Langka) เป็นต้น
หมากที่สามัญชนเคี้ยวทั่วไปหรือคนจนก็สามารถซื้อได้นั้น ก็เป็นหมากซองที่แขวนไว้ตามร้านค้าต่างๆมีราคาตั้งแต่ ๑ รูปีขึ้นไป เป็นหมากที่ขายดีที่สุดเพราะถูกและหาซื้อได้ง่าย เราสามารถสังเกตดูได้เลยว่าแม้แต่ตามริมถนนก็จำเป็นต้องมีร้านขายหมาก และหลายร้านตั้งอยู่ใกล้ๆกัน แต่ละร้านก็ไม่ใหญ่ ถ้าจะว่าไปกระท่อมบ้านเรายังใหญ่กว่าร้านขายหมากด้วยซ้ำ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา ทุกร้านค้าผู้คนเข้าไปใช้บริการกันมากมาย คนขายก็อารมณ์ดี เพราะว่าคนอินเดียถ้าได้เคี้ยวหมากจะอารมณ์ดี แม้ว่าร้านจะอยู่ใกล้กัน แต่ก็ไม่มีเรื่องทะเลาะกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ผู้คนเดินทางกันขวักไขว่ ก็จะได้ซื้อในระหว่างทาง เคี้ยวไปด้วยคุยไปด้วย เหมือนกับว่าร้านขายหมากเป็นสภา เป็นที่ชุมนุมของคนแถวๆนั้น เพราะว่าเขาซื้อหมากตรงร้านไหน ก็ฉีกซองเคี้ยวตรงนั้นเลย หรือแม้แต่หมากสดก็ซื้อเคี้ยวตรงนั้นเหมือนกัน สถานที่ตรงนั้นก็เลยเป็นที่ชุมนุม เป็นที่พบปะกันในสังคมแถวนั้น ทั้งคนชราและเด็ก ก็สามารถซื้อได้ สำหรับเด็กนั้น ก็จะมีหมากหวานเหมือนกัน
สถานที่ในอินเดียนั้นเรามักจะเห็นน้ำหมากมากมาย ตามซอก ตามมุมต่างๆและตามฝาผนังก็ยังมีน้ำหมากติดอยู่ แผ่นดินในเมืองพาราณสีนั้นเต็มไปด้วยสีแห่งน้ำหมาก สีแห่งมิตรภาพ ในเมืองพาราณสีนั้นเป็นเมืองที่เคี้ยวหมากมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ชายจะเคี้ยวหมากแทบทุกคน ส่วนผู้หญิงนั้นส่วนมากจะพบในศาสนาอิสลาม ผู้หญิงอิสลามชอบเคี้ยวหมากมากกว่าผู้ชายในศาสนาเดียวกัน แต่สำหรับศาสนาฮินดูนั้นผู้ชายจะมากกว่าผู้หญิง เพราะว่าผู้หญิงเคี้ยวหมากนั้นเป็นกริยาที่ไมงาม นอกเสียจาก แต่งงานแล้วจึงจะเคี้ยวหมากได้ตามใจชอบ ผู้ชายไม่จำกัดวัย
หมากที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมี ๒ รส คือ
รสชาติที่ ๑ หมากรสหวาน เป็นหมากที่มีขายตามร้านค้าทั่วไป มีทั้งหมากแห้งและหมากสด หมากแห้งนั้นเป็นหมากที่บรรจุในซองฉีกซองแล้วสามารถเคี้ยวได้เลย เพราะมีส่วนผสมเรียบร้อยแล้ว ส่วนหมากสดนั้น โดยมากผู้คนจะเข้าแถวซื้อถ้ามีคนมาก เพราะเจ้าของร้านจะผสมให้ใหม่สดๆตรงนั้นเลย และสามารถห่อได้ด้วย คนส่วนมากชอบหมากสดมากกว่าหมากแห้ง.
รสชาติที่ ๒ หมากรสเมา เป็นหมากที่มีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าหมากประเภทนี้ ถ้าคนไม่เคยเคี้ยวหมาก ใหม่ๆจะรู้สึกว่ามึนเมาศรีษะ แต่สำหรับคนที่เคี้ยวเป็นประจำแล้ว เขาบอกว่าหมากชนิดนี้จะทำให้ไม่ง่วงนอน สมองปลอดโปร่ง หรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วนคนที่ทำงานจะชอบเคี้ยวหมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหมากประเภทนี้ แม้แต่คนไทยก็ยังชอบเคี้ยวหมากชนิดนี้เหมือนกัน บางคนเคี้ยวจนติดปาก ถ้ามีวันไหนไม่ได้เคี้ยวหมาก จะไม่ค่อยมีความสุข หงุดหงิด หรือรู้สึกว่าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง หมากชนิดนี่จะมีส่วนผสมของยาฉุนอยู่ด้วย หรือ ยาเส้นภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ซุรตี” จึงทำให้รู้สึกมึนเมาบางไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหมากก็จะซื้อเฉพาะยาเส้นมาผสมกับปูนขาว ขยี้ให้เข้ากันจากนั้นก็ตบด้วยฝ่ามือแล้วก็แบ่งกันนำมาอมในปาก เพียงแค่อมในปริมาณน้อยนิดเท่านั้น แต่ก็เหมือนกับว่ามีกำลังมากในการทำกิจการงานต่างๆ หรือแม้แต่นั่งขายของในร้านตัวเอง ก็สามารถเคี้ยวหมากไปด้วยก็ได้และมีความเพลิดเพลิน ทุกๆร้านส่วนจะต้องเคี้ยวหมากด้วยจึงจะมีความสุขในการทำงาน ถ้าไม่ได้เคี้ยวหมากก็จะต้องมีการดื่มจายหรือน้ำชานั่นเองแต่ว่ามีนมผสมอยู่ด้วย คนอินเคียชอบดื่มนมมากหมากรสเมานี้ถ้าเป็นหมากสดก็จะตกห่อละ ๕ รูปีขึ้นไป.
คนในเมืองพาราณสีนั้นชอบเคี้ยวหมากมากและพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก เป็นที่เชื่อกันว่า ใครที่ได้เคี้ยวหมากจากเมืองพาราณสีแล้วจะมีความสุข เพราะถือว่าหมากเมืองพาราณสีเป็นหมากที่อร่อย เป็นหมากที่เลิศรส และเป็นหมากที่มีชื่อสียงที่สุดมีการส่งไปขายยังรัฐต่างๆอีกด้วย แม้แต่ดาราดังหลายคนของอินเดียก็ยังเอ่ยปากชื่นชมหมากเมืองพาราณสี ประชาชนในอินเดียที่มีอายุประมาณ ๕๐ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่เคี้ยวหมากมากที่สุดโดยประมาณวันละ ๒๐ ครั้งขึ้นไปต่อวัน ส่วนวัยรุ่นหรือเด็กๆก็ลดลงมาเรื่อยๆตามอายุ
ส่วนผสมของหมาก
ส่วนผสมของหมากที่สำคัญมีอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ใบพลู, ผลหมาก, ปูนขาว, ยาเส้น, รากไม้, เปลือกต้นไม้, ผลไม้บางชนิด และอีกหลายๆชนิดผสมกัน

Comments :

0 ความคิดเห็น to “พาราณสี ม.เมืองหมาก”

แสดงความคิดเห็น

 

ผู้ติดตาม

ออนไลน์หน้านี้

free counters