.

.
"สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"
ข่าวประชาสัมพันธ์



ขอประกาศเลิกอัฟเดทข้อมูลที่Blogแห่งนี้
สามารถเข้าไปใช้งาน website อย่างเป็นทางการได้ที่
http://www.tsa-bhu.org/


ข่าวเด่น

* ขอแสดงความยินดีแด่.. พระครูใบฎีกา ดร. มานิตย์ เขมคุตโต , พระมหา ดร. ธีรชัย ปุญฺญชีโว , พระ ดร. ราเชนทร์ วิสารโท ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ B.H.U. ในปี ๒๕๕๓






* สมาคมพระนักศึกษาไทย มหาววิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันลงอุโบสถ ที่วัดไทยสารนาถ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธัมเมกขสถูป เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์





สมาคมพระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้ร่วมใจกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ "๑๓ เมษา เสนคุปต้ามหาสงกรานต์" ประจำปี ๒๕๕๓ ณ หอเสนฯ โดยมีคณาจารย์ทางมหาลัย และต่างชาติเข้าร่วมนับร้อยชีวิต ในวันที่ ๑๓ เมษายน ที่ผ่านมา





* พระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ (๕ ธันวามหาราช) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล





* ๕ ธันวามหาราช ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษาไทย และนานาชาติ จำนวน ๘๒ รูป และร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้ที่ หอเสนคุปตลอล์จ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒





* กฐินสังฆประชาสามัคคี ณ หอเสนคุปตาลอจ์ด มหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นำโดย พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา


ประวัติมหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยบาณาราฮินดูหรือ Banaras Hindu University ตั้งอยู่ที่เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ชาวภารตะ ถือว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย และใหญ่เป็นอันดับสามของโลก โดยมีพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,500 เอเคอร์ (3,750 ไร่) ถ้าวัดตามแนวกำแพงล้อมรอบมหาวิทยาลัยประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร และเป็นมหาวิทยาลัยที่ควบคุมการบริหารโดยรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมอินเดีย และวิชาการแขนงต่างๆ ทั่วอินเดีย และจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเดินทางมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

จุดเริ่มต้นของ Banaras Hindu University หรือเรียกสั้นๆ ว่า B.H.U. เกิดขึ้นในประกายความคิด หรือจินตนาการของมหาบุรุษท่านหนึ่ง นามว่า ท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ ท่านเกิดเมื่อ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1861 (พ.ศ.2404) ที่เมืองอัลลาฮาบาด (Allahabad อยู่ห่างจากพาราณสี 125 กิโลเมตร) ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่เคร่งครัดในศาสนามากครอบครัวหนึ่ง และถึงแม้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่สู้จะดีนัก แต่ท่านก็เป็นผู้ใคร่ในการศึกษาหาความรู้ จนกระทั่งสามารถเรียนจบในระดับปริญญาตรี ทางด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองอัลลาฮาบาด และหลังจากนั้นไม่นานท่านก็ตัดสินใจหันเหชีวิตเข้าสู่วงการการเมือง โดยเข้าร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ

อินเดียในสมัยนั้น ทั่วทุกหัวระแหงคุกรุ่นไปด้วยกลิ่นไอแห่งชาตินิยม ซึ่งนำโดยกลุ่มพรรคองเกรส ท่านมาลวิยะได้อุทิศตนเพื่องานอันยิ่งใหญ่นี้ และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของความเป็นอินเดียให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนรุ่นใหม่ จากการได้ลงพื้นที่ ทำให้ท่านได้สัมผัสกับความจริงที่มีอยู่ในขณะนั้น และได้ประจักษ์ว่า เอกราชที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่การได้มาซึ่งเอกราชจากประเทศที่ปกครองอยู่เท่านั้น แต่หมายถึง การสามารถรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานับพันๆปีไว้ได้ การที่จะทำอย่างนี้ได้ จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ขึ้นมารองรับ เพื่อสร้างสังคมใหม่นั่นคือ จะต้องมีมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ

มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่านมาลวิยะนั้น จะต้องมีลักษณะเด่น 2 ประการคือ นำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกตะวันตกมาผนวกผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาของโลกตะวันออกคือไม่สุดโต่งตามแบบตะวันตกมากเกินไป และไม่ยึดติดกับความคิดเก่าๆ ของตนเองมากเกินไป ต้องรู้จักเลือกเอาสิ่งที่ดีๆ จากโลกทั้งสอง มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้

แนวความคิดของท่านมาละวิยะ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อท่านได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ออกไปทั้งการพูดและการเขียน มหาชนตั้นแต่มหาราชจนกระทั่งถึงยาจก ขานรับแนวความคิดนี้เป็นจำนวนมาก และร่วมบริจาคเงินให้แก่ท่านตามกำลังศรัทธา

กล่าวกันว่า ขอทานท่านหนึ่งได้นำเงินที่ขอมาได้ตลอดวันนั้นไปมอบให้กับท่านด้วยความศรัทธาอย่างยิ่ง ตัวเอง(พร้อมทั้งครอบครัว) จะอดสักวันก็ไม่เป็นไร ท่านมาละวิยะจึงได้สมญานามใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งว่า ขอทานของขอทาน

เมื่อ ปี ค.ศ. 1900 ( พ.ศ.2443) ท่านมาละวิยะได้จัดประชุดระดมความคิดที่จะจัดสร้างมหาวิทยาลัยในฝันจากบรรดานักปราชญ์และท่านผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่เมืองอัลลาฮาบาด และได้การสนับสนุนอย่างแข่งขันจากมหาราชเมืองพาราณสี นามว่า ประภู นารายณ์ ซิงห์ (Prabhu Narain Singh) และผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐอุตตรประเทศ คือท่านเซอร์ แอนโทนี่ แมคโดนัล ( Sir Antony Mcdonald) ดังนั้น สภากรรมการมหาวิทยาลัยฮินดูก็ได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น

เมื่อจะจัดสร้างจริงๆ สถานที่ที่เลือกก็คือ เมืองพาราณสีในพื้นที่กว้างขวางถึง 3พัน กว่าไร่ สาเหตุที่เลือกเอาเมืองพาราณสี เพราะว่า ตัวเมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจ ของศาสนาฮินดูและคนฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ประมาณ 79%) และมหาวิทยาลัยที่จะจัดขึ้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอินเดียโดยตรง

จนกระทั่งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยลัยก็ได้จัดตั้งพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยขึ้น นั่นเป็นเครื่องหมายว่า Banaras Hindu University ได้เริ่มขึ้นในปีนั้นเอง ขณะที่กำลังดำเนินก่อสร้างอาคารต่างๆอยู่นั้น ส่วนหนึ่งก็ได้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้น โดยนำเอา 3 วิทยาลัย (Colleges) มารวมเป็น B.H.U. คือ

1. Centran Hindu College

2. Centren Hindu Boys’ School

3. Rannir Sanskit Palhshala

และคณะที่เปิดสอนเปิดเรียนในตอนเริ่มต้นมี 5 คณะคือ

1) ตะวันออก ศึกษา ( Oriental Learning)

2) เทววิทยา ( Theology)

3) ศิลปศาสตร์ (Arts)

4) วิทยาศาสตร์ ( Science) และ

5) กฎหมาย ( Law )

ครั้งแรกเปิดการเรียนการสอนที่ Kamachcha เป็นการชั่วคราวก่อน หลังจากที่สร้างอาคารเรียนต่างๆเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ทยอยย้ายกันเข้ามาเปิดเรียนภายในตัวมหาวิทยาลัยทั้งหมด

จากเริ่มแรก 5 คณะ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดคณะต่างๆ ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนถึง 3 สถาบัน 14 คณะ และแยกเป็นภาควิชาสาขาต่างๆ อีก 114 สาขา มีนักศึกษามาจากทั่วทุกภาคทุกรัฐของอินเดีย และจากหลายประเทศทั่วโลกได้มาอยู่เป็นจำนวนมาก (ประมาณ 20,000 คน) คณาจารย์ 1,700 ท่าน และพนักงานเจ้าหน้าที่ทำงานแผนกต่างๆรวมทั้งคนงาน ( non– teaching ) อีกประมาณ 5,000 คน

จากนั้น ค.ศ. 1916 (พ.ศ.2459) จนถึงทุกวันนี้ ค.ศ. 2009 (พ.ศ.2552) นับเป็นเวลา 93 ปีพอดีที่มหาวิทยาลัยได้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกมา เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่อุดมไปด้วยผล ให้บรรดาหมู่วิหคน้อยใหญ่ ได้เข้ามาอาศัยและเสวยภักษาผลอย่างอิ่มหน่ำสำราญ

ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยได้จัดดำเนินตามปณิธานของท่านผู้ก่อตั้ง คือท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ ในการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาของอินเดีย เช่น ศาสนา ปรัชญา จักรวาลวิทยา อายุรเวท เป็นต้น ถือว่า B.H.U. เป็นแหล่งที่ดีที่สุด แม้แต่ในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีของที่นี่ก็เป็น 1 ใน 4 ของสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในอินเดีย

B.H.U. เป็น1 ใน 12 มหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนต่างๆจากรัฐบาลกลางอย่างเพียงพอ ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งๆที่เก็บค่าเล่าเรียน ค่าพักในอัตราที่ค่อนข้างถูกมาก หากเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

เมื่อมองย้อนหลังกลับไป 83 ปีที่แล้ว B.H.U. เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น แต่มาบัดนี้ B.H.U. มีทุกสิ่งทุกอย่างที่เพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะสนองความต้องการของท่านผู้ใคร่ต่อการศึกษาทั้งหลายที่มาจากทั่วทุกมุมโลก มหาวิทยาลัย บาณารัสฮินดู ที่เราท่านได้เห็นได้สัมผัสอยู่นี้ เกิดขึ้นจากความฝัน จากความมุ่งมั่นที่จะกระเทาะเปลือกแห่งอวิชชาให้ออกจากจากใจของผู้โง่เขลาทั้งหลาย และแรงบันดาลใจของมหาบุรุษนามว่า ท่านบัณฑิต มะดัน โมฮัน มาลวิยะ ผู้ซึ่งมีปณิธานอันแน่วแน่ว่า


“I do not for a royal realm aspire,

For release or for paradise.

To serve those bent with grief, I desire,

And calm their sorrows and help them rise.”

ข้าฯ ไม่ปรารถนาความสุขในวัง ความหลุดพ้น หรือสรวงสวรรค์

ข้าฯ ปวารณาที่จะช่วยคนที่ประสบทุกข์ บรรเทาความโศกตรมและช่วยให้เขาลุกขึ้น

Comments :

2 ความคิดเห็น to “ประวัติมหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู”
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
on 

จะเรียนปริญญาเอกปรัชญา....

ภาษาอังกฤษไม่เเข็งเลยทำอย่างไร

จะเรียนทำอย่างไร...การเรียน ที่พัก ค่าเทอม


จบปริญญาโท ปรัชญา มจร.มา

rong2550@hotmail.com

Unknown กล่าวว่า...
on 

อยากทราบกฏระเบียบต่างๆของนักศึกษา

แสดงความคิดเห็น

 

ผู้ติดตาม

ออนไลน์หน้านี้

free counters