.

.
"สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"
ข่าวประชาสัมพันธ์



ขอประกาศเลิกอัฟเดทข้อมูลที่Blogแห่งนี้
สามารถเข้าไปใช้งาน website อย่างเป็นทางการได้ที่
http://www.tsa-bhu.org/


ข่าวเด่น

* ขอแสดงความยินดีแด่.. พระครูใบฎีกา ดร. มานิตย์ เขมคุตโต , พระมหา ดร. ธีรชัย ปุญฺญชีโว , พระ ดร. ราเชนทร์ วิสารโท ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ B.H.U. ในปี ๒๕๕๓






* สมาคมพระนักศึกษาไทย มหาววิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันลงอุโบสถ ที่วัดไทยสารนาถ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธัมเมกขสถูป เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์





สมาคมพระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้ร่วมใจกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ "๑๓ เมษา เสนคุปต้ามหาสงกรานต์" ประจำปี ๒๕๕๓ ณ หอเสนฯ โดยมีคณาจารย์ทางมหาลัย และต่างชาติเข้าร่วมนับร้อยชีวิต ในวันที่ ๑๓ เมษายน ที่ผ่านมา





* พระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ (๕ ธันวามหาราช) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล





* ๕ ธันวามหาราช ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษาไทย และนานาชาติ จำนวน ๘๒ รูป และร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้ที่ หอเสนคุปตลอล์จ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒





* กฐินสังฆประชาสามัคคี ณ หอเสนคุปตาลอจ์ด มหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นำโดย พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา


ตุลสี (The Sacred Tulsi)

ตุลสีคืออะไร? มีความเป็นมาอย่างไร? และการบูชาต้นตุลสีมีความเชื่อกันอย่างไร?

นี่เป็นอีกข้อสงสัยหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามมากมายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยี่ยมเยือนประเทศอินเดียเราสามารถพบเห็นต้นตุลสีได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นตามศาสนสถาน ห้างร้าน บ้านเรือน ตลาดขายผัก แม้กระทั่งบนรถเมล์ ตุลสี เป็นภาษาฮินดี หมายถึง พืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นฉุน ลำต้นมีความสูงโดยประมาณ ๒๐-๓๐ เซนติเมตร คนไทยเรารู้จักกันในนาม ต้นกระเพรา นั่นเอง เมื่อยึดเอาตามหลักความเชื่อเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชนิดของต้นตุลสี ชาวฮินดูก็แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ รามตุลสี (Rama Tulsi) มีใบ และลำต้นขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน เพราะพระรามมีการเป็นสีเหลืองหรือสีขาว อีกชนิด คือ กฤษณะตุลสี (Krishna Tulsi) มีใขและลำต้นสีม่วงเข้ม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก

ตำนานที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปุราณ เกี่ยวกับที่มาของต้นตุลสี ได้เล่าไว้ดังนี้ พระวิษณุมีภรรยาอยู่สามคน คือ พระนางสรัสวตี พระนางลักษมี และพระนางคงคา อยู่มาวันหนึ่งได้เกิดทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงระหว่างพระสรัสวตีกับพระนางลักษมี พระนางสรัสวตีจึงได้สาปแช่งให้ พระนางลักษมีกลายเป็นต้นตุลสีไปเกิดอยู่บนโลกมนุษย์ตลอดกาล แต่ในขณะที่ทั้งสองทำเลาะวิวาทกันอยู่นั้นเอง พระวิษณุก็ทรงอยู่ ณ ที่นั้นด้วย จึงกล่าวกับพระนางลักษมีด้วยความเห็นใจว่า ลักษมีถึงแม้ว่าเจ้าจะกลายเป็นตุลสีไปบังเกิดยังโลกมนุษย์ก็ตาม เมื่อใดที่คำสาปหายไปเจ้าก็กลับคืนสู่สภาพเดิมและกลับมาอยู่กับข้าดังเดิม ระหว่างช่วงเวลาที่เจ้าบังเกิดเป็นต้นตุลสีอยู่ในโลกมนุษย์จะมีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อว่า คันธกี (The Gandaki River) ไหลออกมาจากร่างกายของเจ้าและบนฝั่งของแม่น้ำสายนี้เอง ข้าจะอยู่เคียงข้างเจ้าและจะจำแลงเป็นก้อนหิน ที่เรียกว่า สลกรมฺศิลา

จากเรื่องที่กล่าวมาแล้วนี้จึงทำให้ชาวฮินดูมีความเชื่ออย่างยิ่งเกี่ยวกับการสาปแช่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบุคคลห้าประเภท อันได้แก่ นักบวช (สาธุ) แม่หม้าย คนพิการ ยาจก และสุดท้ายคือ ฮีจาร่า (บุคคลสองเพศ) ดังที่เราทั้งหลายได้พบเห็นกันตามรถไฟขบวนต่างๆ ถ้าบุคคลดังที่กล่าวมาแล้วนี้ได้สาปแช่งบุคคลใด ชาวอินเดียเชื่อว่าบุคคลนั้นจะไม่ได้รับความเจริญและจะมีอันเป็นไปตามคำสาปแช่งนั้น

สำหรับชาวอินดูไวศวนิกาย (นับถือพระวิษณุ) ต้นตุลสีถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดและพิธีกรรมใดที่จัดขึ้นหากขอกตุลสีแล้วถือว่าพิธีกรรมนั้นไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจจะจัดขึ้นได้ ตุลสีได้ถูกยอมรับนับถือกันทั่วไปในกลุ่มชาวฮินดูว่าเปรียบเสมือนหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปัดเป่าความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวงและปกป้องพวกเขาจากเงื้อมมือของพระยายม หรือที่คนไทยเรียกว่าพระยามัจจุราช ชาวฮินดูยังเชื่ออีกว่าหากใครเผลอไปทำกิ่งหรือก้านของตุลสีหักถือเป็นบาปมหันต์เลยทีเดียว และเป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ในการบูชาตุลสีของแต่ละกลุ่มบุคคล การอธิษฐานขอพรและความเชื่อก็จะแตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าแม่หม้ายบูชาตุลสี พวกเขาก็จะเรียกว่าพรที่พวกเขาจะได้รับคือ จะพบกับความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงที่พวกเขาได้ประสบมาแล้ว หญิงสาวชาวฮินดูที่ยังไม่แต่งงานบูชาตุลสีก็ด้วยมีความเชื่อว่า พวกเขาจะพบได้เจอกับสามีที่ดีในอนาคต คู่สามีภรรยาบูชาตุลสีก็เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้บุตรชาย และเป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่และญาติพี่น้อง และคนชราตายไปจะได้ไปบังเกิดยังสวรรคโลก นอกจากนี้แล้วตุลสียังถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธีศพของวรรณะพราหมณ์ เมื่อครอบครัววรรณะพราหมณ์ครอบครัวใดมีคนกำลังจะตาย ญาติก็จะไปเชิญนักบวชมาประกอบพิธี โดยที่นักบวชจะนำเอาต้นตุลสีไปวางใกล้ๆ กับผู้ที่กำลังจะตาย หลังจากที่นักบวชได้ทำพิธีบูชาตุลสีแล้ว นักบวชก็จะนำเอาใบตุลสีวางไว้ที่ หน้า ตา หู และหน้าอกของผู้ที่จะตายและนักบวชก็จะนำเอาใบตุลสีไปจุ่มกับน้ำแล้วนำมาพรมตั้งแต่หัวไปจนถึงเท้าแล้วยื่นให้แก่ผู้ที่กำลังจะตาย ในขณะนั้นบรรดาเหล่าญาติก็จะตะโกนดังๆ ว่า ตุลสี ตุลสี และที่สำคัญคือถ้าหากว่าผู้ที่กำลังจะตายได้ดื่มน้ำตุลสี (ใบตุลสีผสมน้ำ) เมื่อตายไปแล้วก็จะได้ไปจุติยังดินแดนของพระวิษณุ (Vishnu Laka) และที่ขาดไม่ได้เลยคือฟืนที่นำมาเผาศพจะต้องประกอบด้วยไม้ ๓ ชนิด คือ ไม้ตุลสี ไม้จันทร์ ไม้ปะละสาค (Palasac Wood) หรือที่คนไทยเรารู้จักกันคือทองกวาวนั้นเอง จึงจะถือว่าพิธีฌาปนกิจศพสมบูรณ์

นอกจากนี้ตุลสียังมีสรรพคุณทางเภสัชอีกด้วย ใบตุลสีมีกลิ่นหอมสามารถเป็นยาแก้ไอ และรักษาโรคทางเดินหายใจได้อีกด้วย หรือทานหลังอาหารหนึ่งหรือสองใบจะช่วยย่อยอาหาร การทานใบตุลสีก่อนหรือหลังอาบน้ำเย็นจะช่วยรักษาอุณหภูมิในท้องให้เหมาะสมและช่วยป้องกันการปวดเมื่อยจากความหนาว

และอีกอย่างคือชาวฮินดูรู้จักวิธีการใช้ใบตุลสีเพื่อป้องกันการก่อตัวของเชื้อราและแบคทีเรีย โดยใส่ลงในน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภคได้อีกด้วย ดังนั้น ตุลสีจึงถือได้ว่าเป็นต้นไม้ที่ขาดเสียไม่ได้ในวิถีชีวิต และวิถีแห่งศาสนาของชาวฮินดู.

Comments :

0 ความคิดเห็น to “ตุลสี (The Sacred Tulsi)”

แสดงความคิดเห็น

 

ผู้ติดตาม

ออนไลน์หน้านี้

free counters