สัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอินเดีย คือ การแต่งกายของสตรีด้วยชุดสาหรี (Sahri) ซึ่งยังคงเป็นเอกลักษณ์ของสตรีชาวอินเดีย สาหรียังคงเป็นชุดมาตรฐานของการแต่งกายสตรีของชาวอินเดียโดยทั่วไป จะแตกต่างกันไปบ้างก็เฉพาะสีสันความประณีตและความวิจิตรบรรจงเท่านั้น ซึ่งมีความยาวระหว่าง ๕-๗ หลา และกว้างประมาณ ๑ เมตร วิธีการนุ่งสาหรีนั้น จะใช้ปลายข้างหนึ่งซุกไว้ในกระโปรงยาวคล้ายชุดซับใน ชายอีกข้างจะพันรอบเอวแล้วพับเป็นตะเข็บด้านหน้าแล้วตวัดข้ามไหล่ซ้ายทิ้งชายห้อยลงไปด้านหลัง เช่นเดียวกับการพาดสะใบเฉวียงบ่า หรืออาจจะนุ่งแบบโจงกระเบนก็ได้แล้วดึงชายมาคลุมศีรษะ การแต่งสาหรีนี้ ปฏิบัติกันเป็นกิจวัตรประจำวันของสตรีอินเดียโดยทั่วไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
สำหรับประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของชาวอินเดียนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ส่วนมากจะสังเกตดูได้จากประติมากรรมรูปปั้นในเทวสถานต่าง ๆ ภาพวาดตามผนังถ้ำ และจากคำบรรยายไว้ในวรรณคดีเรื่องเก่า ๆ ในสมัยก่อนสตรีชาวอินเดียมีการแต่งกายแบบง่าย ๆ คือ เพียงใช้ผ้าพันกายท่อนล่างจากสะเอวลงมาถึงเข่าหรือข้อเท้า และตกแต่งด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ แล้วแต่ฐานะของบุคคลนั้น ๆ แม้ที่สุดประดับด้วยพวงมาลัยดอกไม้สด เมื่อเวลาผ่านไป การแต่งกายในลักษณะเช่นนี้ ได้วิวัฒนาการแก้ไขดัดแปลงให้ได้รูปทรงที่ดูเหมาะสมสวยงามยิ่งขึ้น ตามสมัยนิยม จนในที่สุดก็ได้แบบอย่างที่เป็นมาตรฐานดังที่เรียกชื่อว่า “ชุดสาหรี” อยู่ในทุกวันนี้
สาหรี่
สมาคมนักศึกษาไทย ม.พาราณสี, วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Comments :
แสดงความคิดเห็น