หนึ่งในตำนานคงคา
มีตำนานมากมายที่ได้กล่าวถึงการกำเนิดของแม่น้ำคงคา หนังสือจำนวนมาก ซึ่งสามารถหาได้จากวัดหรือเมืองต่าง ๆโดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำคงคา บรรยายสรรเสริญอำนาจที่สามารถชำระล้างบาปและสิ่งไม่ดีทั้งหมดของผู้ได้ชำระ ร่างกาย ตำนานของแม่น้ำคงคานั้นมีมากมายและเรื่องต่อไปนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่มีชื่อเสียง มากและได้รับการเล่าสืบต่อกันอย่างกว้างขวาง.....
กษัตริย์ในสมัยโบราณพระองค์หนึ่งนามว่าสาคร(Sagar)ครั้งหนึ่งได้ปกครอง อินเดียทรงมีโอรสถึงหกหมื่นพระองค์วันหนึ่งในขณะที่กำลังเสาะหาม้ามงคล โอรสเหล่านั้นได้ไปรบกวนการทำสมาธิของฤๅษีตนหนึ่งเป็นเหตุให้ฤๅษีโกรธมากและ ได้เผาโอรสทั้งหกหมื่นจนเป็นขี้เถ้าด้วยอำนาจที่เกิดจากการทำสมาธิ วิญญาณของโอรสทั้งหกหมื่นได้ถูกกีดกันที่จะสัมผัสน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะปลดปล่อยโอรสเหล่านั้นไปสู่สุขติได้ดังนั้นวิญญาณของโอรสเหล่านั้นจึงไปรบกวนพระเจ้าสาคร (King Sagar) เมื่อพระเจ้าสาครสิ้นพระชนม์เหล่าวิญญาณของโอรสได้ไปรบกวนพระ นัดดา(หลาน)ผู้เป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าสาครนามว่า ภังคีรถ (Bagiratha) ด้วยความปรารถนาที่จะช่วยปลดปล่อยเหล่าวิญญาณจากความทุกข์และเพื่อความสงบสุขของพระองค์เองพระเจ้าภังคีรถ(Bagiratha)ได้สละพระราชสมบัติและสวดอ้อนวอนต่อพระแม่คงคา (Mother Ganga)ในขณะนั้นเป็นผู้หลั่งน้ำเฉพาะบนสวรรค์เพื่อความสำราญของเหล่าเทวดาทั้งหลาย ให้หลั่งน้ำลงมาที่โลกมนุษย์บ้าง พระองค์จึงได้ทำสมาธิที่เขาหิมาลัย (Himalayas) เป็นเวลานาน จนกระทั่งชนะใจของพระแม่คงคา (the river goddess)พระแม่คงคาได้ปรากฏต่อหน้าพระองค์เพื่อเป็นรางวัลต่อการอุทิศตน บำเพ็ญสมาธิและได้เมตตายินยอมที่จะหลั่งน้ำลงสู่โลกมนุษย์ ท้าวศิวะ (Lord Shiva) ทรงเห็นด้วยและยกเอาสายน้ำนั้นไว้บนศีรษะของพระองค์ ด้วยวิธีนี้สามารถลดความรุนแรงของสายน้ำลงได้มิฉะนั้นแล้วโลกมนุษย์จะถูกทำลายด้วยสายน้ำนั้น
สายน้ำนั้นได้ไหลผ่านปอยเกศา(ปอยผม)ของท้าวศิวะสู่โลกมนุษย์และสัมผัสขี้ เถ้าของเหล่าโอรสทั้งหกหมื่นและปลดปล่อยโอรสเหล่านั้นไปสู่สุขติ จากนั้นสายน้ำได้ไหลอย่างรวดเร็วผ่านภูเขาต่างๆ จนอ่อนกำลังลง และได้ไหลไปสู่พื้นที่ราบนามว่า หริญทวาร (Haridwar) และกลายเป็นมหาสมุทรและด้วยอำนาจแห่งการทำลายและปลดปล่อยของสายน้ำ แม่น้ำในปัจจุบันนี้จึงเป็นแหล่งชำระล้างที่ทรงพลังของชาวฮินดูหลายล้านที่ เดินทางมาแต่ละปีเพื่อที่จะชำระร่างกายของตนและเพื่อเผาศพผู้ตาย....
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ
Translated from:http://faculty.maryvillecollege.edu/pennington/yatra/gangotri2.htm
Comments :
แสดงความคิดเห็น