ดร.เอ็มเบดการ์ ถือกำเนิดมาในครอบครัวของคนจัณฑาลหรืออธิศูทร เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2434 ณ หมู่บ้านชื่ออัมพาวดี รัฐมหาราษฎร์ (บอมเบย์) ชื่อเดิม พิม ด้วยความที่เกิดในวรรณะต่ำจึงทำให้ได้รับความอยุติธรรมในทุกเรื่อง พิมจึงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า “สักวันหนึ่งเราจะต้องถีบตัวเองให้สูงขึ้นไปเพื่อให้พ้นจากภาวะอันต่ำต้อยนี้ให้ได้ และการที่จะทำเช่นนั้นได้ เพราะด้วย การศึกษา เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะทำให้คนจัณฑาลได้รับการยอมรับ” จากปณิธานที่ตั้งอยู่มั่นในใจ ส่งผลให้พิสอบได้คะแนนสูงสุดในทุกวิชา จนในที่สุดก็สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบอมเบย์เมื่อปี พ.ศ. 2455 ในเวลาไม่นานนักเขาก็สำเร็จการศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ช่วงเวลาที่เอ็มเบดการ์ยังเป็นนักศึกษาอยู่นั้น ประเทศอินเดียตกอยู่ในความยึดครองของประเทศอังกฤษคน เอ็มเบดการ์ ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังคุกคามประเทศของตนเหล่านี้เป็นอย่างดีเขาจึงปณิธานว่า “ในชีวิตนี้เขามีภาระกิจที่จะทำอยู่ 2 อย่าง นั่นก็คือ หนึ่งทำลายระบบวรรณะ ช่วยให้ประเทศอินเดียเป็นเอกราชจากการยึดครองของอังกฤษ” จนสำเร็จการศึกษาแล้วจึงกลับมาเพื่อช่วยพัฒนาประเทศอินเดีย ความเป็นคนจริงที่ต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยาก ทำให้เขาได้รับเชิญเข้าเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม” ดร.เอ็มเบดการ์ ร่วมมือกับพรรคการเมืองอื่นของอินเดีย ต่อสู่กับจักรวรรดิอังกฤษ จนในที่สุดอินเดียก็ได้รับเอกราช เมื่อได้รับเอกราชแล้ว เอ็มเบดการ์รับต่ำแหน่งที่สำคัญที่สุด คือ การเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ
ดร.เอ็มเบดการ์ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะและทำพิธีปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่เมืองนาคปุระ ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2499 พิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะครั้งนี้มีคนจัณฑาลเข้าร่วมปฏิญาณด้วยนับแสน หลังการปฏิญาณตน เอ็มเบดการ์ได้รับยกย่องว่า “เป็นผู้เปิดประตูดินแดนภารตะเพื่อนำพระพุทธศาสนานำสู่มาตุภูมิ” พระพุทธศาสนาที่เลือนหายไปจากประเทศอินเดีย เป็นเวลากว่า 1,500 ปี จึงได้กลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง
“ชื่อของเอ็มเบดการ์จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนานโดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบลางความอยุติธรรม ในสังคมฮินดู เอ็มเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องสู้ เอ็มเบดการ์ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูได้ตื่นจากความหลับ”
บัวที่บานอยู่เหนือกาลเวลา
สมาคมนักศึกษาไทย ม.พาราณสี, วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Comments :
แสดงความคิดเห็น