.

.
"สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ทำให้เกิดสุข"
ข่าวประชาสัมพันธ์



ขอประกาศเลิกอัฟเดทข้อมูลที่Blogแห่งนี้
สามารถเข้าไปใช้งาน website อย่างเป็นทางการได้ที่
http://www.tsa-bhu.org/


ข่าวเด่น

* ขอแสดงความยินดีแด่.. พระครูใบฎีกา ดร. มานิตย์ เขมคุตโต , พระมหา ดร. ธีรชัย ปุญฺญชีโว , พระ ดร. ราเชนทร์ วิสารโท ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ B.H.U. ในปี ๒๕๕๓






* สมาคมพระนักศึกษาไทย มหาววิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันลงอุโบสถ ที่วัดไทยสารนาถ พร้อมเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธัมเมกขสถูป เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์





สมาคมพระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้ร่วมใจกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ "๑๓ เมษา เสนคุปต้ามหาสงกรานต์" ประจำปี ๒๕๕๓ ณ หอเสนฯ โดยมีคณาจารย์ทางมหาลัย และต่างชาติเข้าร่วมนับร้อยชีวิต ในวันที่ ๑๓ เมษายน ที่ผ่านมา





* พระนักศึกษา นักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ร่วมใจกันจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ (๕ ธันวามหาราช) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล





* ๕ ธันวามหาราช ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษาไทย และนานาชาติ จำนวน ๘๒ รูป และร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้ที่ หอเสนคุปตลอล์จ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒





* กฐินสังฆประชาสามัคคี ณ หอเสนคุปตาลอจ์ด มหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ นำโดย พระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา


ดินแดนเกิดของศาสนาอิสลามและเข้าทำลายพุทธศาสนาในอินเดีย

ศาสนาอิสลามเกิดในที่ทุรกันดาร คือ ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ในปัจจุบัน ศาสนิก คือ ผู้นับถือศาสนาอิสลามนั่นเอง และเรียกตัวเองว่า “มุสลิม”
ศาสดาของศาสนาอิสลามมีนามว่า “มุฮัมหมัด” คำว่า ศาสดาในที่นี้ พวกชาวมุสลิม ใช้คำว่า “นบี” (Nabi) นบี มุฮัมหมัด ประสูติ ที่เมืองเมกกะฮ์ (Mecca) เมื่อประมาณ ค.ศ. ๕๗๐ คือ พ.ศ. ๑๑๑๓ ในยุคพวกชนเผ่าอาหรับแตกคอกันค่อนข้างมาก คือหลายเผ่า ว่ากันอย่างนั้นเถอะ
มุฮัมหมัดกำพร้าบิดาตั้งแต่ยังประสูติหรือเกิด และกำพร้ามารดา เมื่ออายุ ๖ ขวบ ปู่เป็นผู้ดูแลมาจนอายุ ๘ ขวบ ย้ายไปอยู่ในความดูแลของลุง ชื่อว่า อานูตาลิบ ซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่า ฮะซิม
เมื่ออายุ ๒๕ ปี ท่านได้ไปทำงานดูแลกิจการค้าขายของเศรษฐีนีหม้าย ชื่อว่า ขะดิยะฮ์ (Khadijah) ต่อมาเมื่อท่านได้สมรสกับนางขะดิยะฮ์ จึงทำให้มีเวลาว่างมาก เพราะว่าได้ภรรยารวย จึงไปทำความสงบทางใจ เมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปี ประมาณ ค.ศ. ๖๑๐/พ.ศ. ๑๑๕๓ (ตรงนี้คิดว่า ท่านมุฮัมหมัด น่าจะรู้จักพระพุทธศาสนาแล้ว ถึงวิธีการปฏิบัติสมาธิ ท่านเรียกว่าไปหาความสงบในถ้ำ) ท่านได้มองเห็นว่า “พระอัลเลาะฮฺเจ้า ได้มอบโองการให้ท่านสั่งสอน ต่อแต่นี้เรื่อยมาได้รับพระริวรณพจน์ เพิ่มมาเรื่อย ๆ ( คือ รับคำสอนจากพระเจ้า) จนรวมกันเป็นคัมภีร์ “อัลกุรอาน “ ซึ่งมีหลักการสูงสุดว่า มีพระเจ้าองค์เดียวคือ อัลเลาะฮฺ (Allah) และมุฮัมหมัด เอง เป็น “นบี” คือเป็นศาสดาผู้ประกาศพระวจนะของ อัลเลาะฮฺ (Prorhet)
เมื่อ นบี มุฮัมหมัด เผยแพร่คำสอน ทุกศาสนาถูกเป็นปฏิปักษ์มุ่งร้ายของศาสนานี้ แม้แต่ในเมืองเมกกะเอง ก็ถูกต่อต้านอย่างหนัก แต่เป็นโอกาสดีที่มีลุงเป็นหัวหน้าเผ่าคุ้มครอง ก็เลยรอดจากการถูกทำร้าย และก็มีภรรยาเป็นเศรษฐี สนับสนุนด้วย ต่อมาทั้งสองถึงมรณกรรมลง จึงหมดผู้คุ้มครอง
ท่านมองเห็นภัยบีบคั้น ไม่ให้สั่งสอน จึงหนีตาย จากเมือง เมกกะฮ์ พร้อมด้วยสาวกประมาณ ๗๐ คน ตัดความสัมพันธ์กับสายเลือด คือเผ่าตัวเอง ในเมืองเมกกะฮ์ ไปอยู่ที่เมือง ยาธริบ (Yathrib) ทางตอนเหนือประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร
เหตุการณ์สำคัญนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชของศาสนาอิสลาม ที่เรียกว่า “ฮิจเราะฮ์”(Hijrah) เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า “อพยพ” และศักราชของศาสนาอิสลาม จึงเท่ากับ พ.ศ. ๑๑๖๕ และบ่อเกิดของการทำลายล้างศาสนาอื่นๆ โดยเฉพาะพุทธศาสนา ซึ่งถูกทำลายล้างมากกว่าศาสนาอื่น ๆ ทั้งในประเทศอินเดียที่เป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนาและประเทศอื่นที่พุทธศาสนาเผยแพร่ไป
ที่เมือง ยาธริบ หรือเมือง มะดีนะฮ์ ในปัจจุบัน ที่ นบี มุฮัมหมัด ย้ายไปจากเมือง มักกะฮ์ มีความขัดแย้งระหว่างเผ่า นบี มุฮัมหมัด ต้องสู้รบกับชนเผ่าเหล่านี้ ถึงฆ่าคนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกยิว หรือ อิสลาเอล ในปัจจุบัน พวกผู้ชายถูกสังหารโหดจนหมด และขายผู้หญิงและเด็กเป็นทาสให้ออกพ้นไปจากเมือง มะดีนะฮ์
ครั้นถึงเดือน มกราคม ปี ค.ศ. ๖๓๐/พ.ศ. ๑๑๗๓ ทางเมืองเมกกะ อ่อนกำลังลง นบี มุฮัมหมัด จึงยกกำลังพล ประมาณ ๑๐,๐๐๐ นาย ไปตีเมือง เมกกะ ได้ นบี มุฮัมหมัด ใช้เวลา ๑๘-๒๐ วันจัดการวางระบบบริหารปกครองเมืองเมกกะ (เมืองเกิดของท่านที่หนีภัยก่อการร้ายของเผ่าต่าง ๆ ไปตั้งป้อมที่เมือง มะดีนะฮ์) การบริหารการจัดการปกครองครั้งนี้ ได้ทำลายรูปเคารพ (idole) จนหมด จากมหาวิหารกะมะฮ์ และศาสนสถานใกล้เคียง แล้วกลับสู่ มะดีนะฮ์ ช่วงนี้ นบี ต้องออกรบกับชนเผ่าอื่นที่แข็งข้อ จนสามารถควบคุมชนทุกเผ่าได้ และถึงปี ค.ศ. ๖๓๒/พ.ศ. ๑๑๗๕ ท่าน นบี ได้ถึงแก่กรรม
นบี มุฮัมหมัด จบสิ้น แต่หลักคำสอน และหลักเกณฑ์ไม่จบตามท่าน จึงเป็นเหตุให้ศาสนาอื่น ๆ เดือดร้อนไปตาม ๆ กัน โดยเฉพาะพุทธศาสนา จนหายไปจากอินเดียที่เป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธ
การแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม
เนื่องจากท่านมีภรรยาถึง ๙ คน แต่บุตรชายทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก ธิดาก็มีเพียงคนเดียวที่ยังเหลือชีวิตอยู่ ชื่อ ฟาติมะฮ์ (Fatimah, ที่เกิดจาก นางขะดิยะฮ์) จึงหาคนสืบทอดไม่ได้ ซึ่งเรียกว่า(กาหลิฟ;Caliph) จึงเกิดการแตกแยก เป็นเหตุเกิดของนิกาย ชีอะฮ์ (Shi’ah แปลว่า ผู้ชอบธรรม) และนิกาย สุนหนี่ (Sunni;แปลว่า ผู้สืบสายประเพณี) จึงกลายเป็นมุสลิม ๒ นิกาย สืบมา
ภายในเวลาเพียง ๑ ศตวรรษ นับแต่ศาสนาอิสลามเกิดขึ้น จักรวรรดิมุสลิมอาหรับแผ่ไป เช่น ทางตะวันตก ย่านอาฟริกาเหนือ ขึ้นยุโรปไปครองสเปน ยังที่ฝรั่งเศส, ตะวันออก ผ่านอัฟกานิสถาน ลงข้างล่าง เข้าลุ่มแม่น้ำสินธุ ครองแคว้นสินท์ ทะลุปากีสถาน เข้าไปถึงภาคตะวันตกของอินเดีย ยันดินอยู่รัฐคูชราต ทางเหนือตามเส้นทางสายไหมเข้าเอเชียกลาง ไปจรดชายแดนจีน
พวกมุสลิมอาหรับ เข้าครอบครองแคว้นสินท์ โดยใช้กองทัพเรือตีเมือง วลภี ล้มราชวงค์ ไมตรกะ และทำลายล้างพระนครพินาศลง โดยสิ้นเชิง ราว ค.ศ. ๗๗๕/พ.ศ. ๑๓๑๘
ครั้งนั้น มหาวิทยาลัย วลภี ถูกทำลายลงด้วยอย่างไม่เหลือแม้แต่ซาก เป็นมหาวิทยาลัยของพุทธศาสนาแห่งแรกที่ถูกทำลาย (ถ้าไม่นับตักศิลา)
มุสลิมอาหรับพิชิตเอเชียกลางได้แล้ว ก็เป็นชนชาติเหล่านั้นเป็นมุสลิม และให้ใช้ภาษาอาระบิกเป็นภาษาราชการ (นี้คือ โดยธรรมชาติของมุสลิม ต้องเปลี่ยนธรรมเนียมและวัฒนธรรมของเขา ถ้าเขาไม่เปลี่ยนคือตายสถานเดียว แล้วพวกมุสลิมมักพูดว่า มุสลิมไม่รุกรานใครก่อน ไม่ทำร้ายผู้อื่น ทั้งที่ประวัติศาสตร์บ่งบอกถึงความเป็นอันธพาล ทำร้ายผู้อื่น เห็นกันชัด ๆ) ถึงจุดหมดยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่มุสลิมเตอร์ก มุสลิมไหนทำลายศาสนาพุทธเหมือนเดิม
จากยุคมุสลิมอาหรับเข้าสู่มุสลิมเตอร์ก (ในช่วงปี ๙๒๙-๑๐๓๑/๑๔๗๒/๑๕๗๔)
พวกเตอร์กได้รับศาสนาอิสลาม จากมุสลิมอาหรับ (เกือบ ๒๐๐ ปี ก่อนนั้น) ครั้นเวลาผ่านไป ก็เจริญเข้มแข็ง ก็เริ่มขยายอำนาจแผ่อิสลามบ้าง จนที่สุดมุสลิมเตอร์กก็เข้าแทนที่มุสลิมอาหรับ
เส้นทางของ “มุสลิมเตอร์ก” ก็ย้อนคืนสู่อาหรับ โดยใช้เส้นทางสายไหม ลงมาในอาฟกานิสถาน แล้วเข้าไปตะวันออกกลาง เริ่มแต่อิหร่าน เข้าแบกแดด จนสุดแดนอาหรับ จบที่ตุรกี
แต่เมื่อลงมาในอาฟกานิสถาน แทนที่จะเลี้ยวขวาขึ้นอิหร่าน ผ่านเข้าสู่ตะวันออกกลาง กลับเลี้ยวซ้ายเข้าอินเดีย
ในปี ๙๗๗/๑๕๒๐ ได้เกิดอาณาจักรมุสลิมเตอร์กตั้งตัวเป็นสุลต่านขึ้นในอาฟกานิสถาน ซึ่งแผ่อำนาจเข้าไปในอิหร่าน และยกทัพมาตีอินเดีย ถึงปัญจาบและแม่น้ำสินธุ
จนกระทั่งถึงปี ๑๒๐๖/๑๗๔๙ มุสลิมเตอร์กก็สามารถตั้งรัฐสุลต่านแห่งเดลี ขึ้นเป็นอาณาจักรมุสลิมเริ่มแรกในอินเดีย
พระพุทธศาสนาก็ได้สูญสิ้นไปจากอินเดีย โดยการรุกรานและทำลายในคราวครั้งนี้
กองทัพมุสลิมเตอร์กยาตราทัพเข้าที่ไหน ก็ทำลายที่นั่น ทั้งฆ่า ปล้นทรัพย์ และบังคับให้เปลี่ยนศาสนา ศูนย์กลางใหญ่ ๆ ทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนาลันทา โปทันทะบุรี วิกรมศิลา เป็นต้น ถูกทำลาย ทั้งฆ่าพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก และเผาอาคารสถานที่จนไม่เหลือ (พวกมุสลิมยุคหลังบอกว่า มุสลิมไม่เคยรุกรานใคร นอกจากป้องกันตัวเองเท่านั้น มุสลิมรักสันติ จริงหรือไม่ ให้ท่านผู้อ่านพิจารณา)
มหาวิทยาลัยนาลันทาก็สูญ พระพุทธศาสนาก็สิ้น พระที่หนีไปรอด ก็ขนเอาคัมภีร์ไปได้บ้าง เช่น หนีไปพม่า เนปาล ธิเบต ฯลฯ
พระสงฆ์อีกพวกหนึ่ง ที่อยู่วิเวกตามป่าเขา ซึ่งไม่อาจสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง หรือโลกภายนอก นั่งหลับตาอย่างเดียว เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปไม่ช้า พระสงฆ์เหล่านั้นก็สูญสิ้นไปด้วย เพราะอยู่ไม่ได้
ก็ถือว่าหมดยุคพระพุทธศาสนา สูญสิ้นไปจากอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐ เศษ ด้วยการฆ่า ฟัน ทำลาย ของพวกซาตานมุสลิม
ก่อนมุสลิมจะเข้ามาทำลายนั้น พระพุทธศาสนาค่อนข้างจะอ่อนแออยู่แล้ว ด้วยการที่มีความเสื่อมโทรมในตัวเอง และไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู ซึ่งไม่พอใจพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว มุสลิมเข้ามาก็เลยพังไปด้วยประการฉะนี้แล
จาก จาริกบุญ จาริกธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

พาราณสี ม.เมืองหมาก

เมืองพาราณสีเป็นเมืองที่เก่าแก่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองแห่งสินค้าที่มีการติดต่อซื้อขายกับเมืองอื่นๆ และเป็นเมืองที่ไม่เคยเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี แม้แต่สถานที่ตั้งเมืองก็ไม่เคยเปลี่ยน ที่ยังคงอยู่ติดฝั่งแม่น้ำคงคาตราบเท่าทุกวันนี้ แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในอินเดียนั่นก็คือ หมาก (Betel palm) ภาษาท้องถิ่นหรือภาษาฮินดี(Hindi) เรียกว่า “ปาน” (PAN) เป็นหมากที่สามารถเคี้ยวได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย พูดง่ายๆว่า เคี้ยวได้ทั้งชายหญิง ขอทานยันเศรษฐี กุลี(คนขนกระเป๋า)กับคนขับรถไฟก็ไม่เว้น รวบเข้ามาอีกก็คือเคี้ยวเกือบทุกวงการในสังคมอินเดียอ่ะนะ
ขึ้นชื่อว่าหมากทุกคนคงจะรู้จักกันดีในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว เขมร ศรีลังกา หรือแม้แต่ไทยเราเองก็รู้จักดี แต่ว่าหมากในอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือเมืองพาราณสี การเคี้ยวหมากของคนแดนภารตะมีมานานประมาณ ๒๐๐ปีแล้ว จากการศึกษาพบว่าหมากมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑.หมากเพื่ออวยพรให้โชคดี โชคลาภ ในประวัติศาสตร์นั้นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ จะเป็นผู้ออกรบเองในการต่อต้านศัตรูผู้รุกรานพร้อมๆกับพลทหาร เพื่อจะขยายอาณาเขตของตน ทุกคนที่จะออกรบนั้นจะต้องเคี้ยวหมากก่อน เพื่อให้โชคดีในการออกไปรบ แต่ในปัจจุบันนั้นสิ่งเหล่านี้ได้หายเลือนรางจากไป เพราะว่าการสู้รบทุกวันนี้กษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้ออกรบเอง มีแต่พลทหารที่ออกรบและมีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพและศูนย์เสียน้อยที่สุด แต่ทุกวันนี้ที่เห็นได้ชัดก็คืองานแต่งงานก็จะต้องมีการเคี้ยวหมากเหมือนกันและเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากๆ เพียงแต่เปลี่ยนจากคนแต่งเป็นแขกที่มาในงานเป็นคนเคี้ยวหมากแทนก็คือ เมื่อฤดูกาลหน้าหนาวเข้ามาชาวอินเดียมักชอบแต่งงานในหน้าหนาวมีการจัดสถานที่และพิธีอย่างใหญ่โตเชิญแขกมามากมายในงานมีการเลี้ยงอาหารคาวหวาน ทุกคนจะต้องรับประทานอาหารและหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็จะมีการเอาหมากมาแจกแขกที่มาในงาน โดยเฉพาะคนที่เป็นใหญ่เป็นโต หรือคนที่มีชื่อเสียงจะต้องได้เคี้ยวหมาก ไม่ฉะนั้นจะถือว่างานจบไม่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าการเคี้ยวหมากเขาบอกว่าจะมีความสุขพร้อมกับได้คุยกับญาติพี่น้องถามข่าวทุกข์สุข การเคี้ยวหมากเป็นขั้นตอนสุดท้ายจนกว่าแขกจะกลับบ้านหมด แม้แต่การหาฤกษ์หายามก็จะต้องมีหมากมาเกี่ยวข้องเหมือนกัน

๒.หมากเพื่อบูชาในทางศาสนาฮินดู หมากเพื่อบูชาก็เป็นหมากที่เคี้ยวกันอยู่ในปํจจุบัน หากแต่ว่าหมากที่จะนำไปบูชานั้นเอาเฉพาะใบพลูที่เป็นสีเขียวและยังสดอยู่รวมกับผลลูกหมาก ใบที่จะต้องนำไปบูชานั้นจะต้องเป็นใบที่ไม่มีรอยฉีกขาดหรือไม่มีการตัดใบแบ่งครึ่ง หมากที่เคี้ยวกันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีทั้งหมากที่เป็นซองและที่เป็นหมากสดที่นั่งขายตามร้านเล็กๆ หมากที่เป็นซองนั้นเป็นหมากแห้งสำเร็จรูป เมื่อซื้อมาแล้วก็ฉีกเคี้ยวได้เลย หมากที่เป็นซองนั้นก็มีระดับชั้นเหมือนกัน ถ้าเป็นหมากสำหรับชนชั้นที่สูงเคี้ยวนั้นก็เป็นหมากที่แพงดีกว่าหมากธรรมดา ราคาอยู่ประมาณ ๒๕รูปี ต่อ ๑ซองๆหนึ่งเคี้ยวได้ครั้งเดียว ไม่มีการแบ่งครึ่ง เพราะหมากในหนึ่งซองจะผสมตัวยาครบตามสูตร คนสามัญชนก็สามารถซื้อมาเคี้ยวได้ แต่ว่าเงินไม่ค่อยมีลำพังอาหารที่จะมารับประทานก็ลำบากพออยู่แล้ว หมากที่ชนชั้นสูงซื้อนั้นมีขายอยู่ในตัวเมืองมีหลายตลาดเช่น โกเดาเลีย(Godaulia), โกดาวาลิ (Godauwali) หรือแม้แต่ตลาดลังกา (Langka) เป็นต้น
หมากที่สามัญชนเคี้ยวทั่วไปหรือคนจนก็สามารถซื้อได้นั้น ก็เป็นหมากซองที่แขวนไว้ตามร้านค้าต่างๆมีราคาตั้งแต่ ๑ รูปีขึ้นไป เป็นหมากที่ขายดีที่สุดเพราะถูกและหาซื้อได้ง่าย เราสามารถสังเกตดูได้เลยว่าแม้แต่ตามริมถนนก็จำเป็นต้องมีร้านขายหมาก และหลายร้านตั้งอยู่ใกล้ๆกัน แต่ละร้านก็ไม่ใหญ่ ถ้าจะว่าไปกระท่อมบ้านเรายังใหญ่กว่าร้านขายหมากด้วยซ้ำ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา ทุกร้านค้าผู้คนเข้าไปใช้บริการกันมากมาย คนขายก็อารมณ์ดี เพราะว่าคนอินเดียถ้าได้เคี้ยวหมากจะอารมณ์ดี แม้ว่าร้านจะอยู่ใกล้กัน แต่ก็ไม่มีเรื่องทะเลาะกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ผู้คนเดินทางกันขวักไขว่ ก็จะได้ซื้อในระหว่างทาง เคี้ยวไปด้วยคุยไปด้วย เหมือนกับว่าร้านขายหมากเป็นสภา เป็นที่ชุมนุมของคนแถวๆนั้น เพราะว่าเขาซื้อหมากตรงร้านไหน ก็ฉีกซองเคี้ยวตรงนั้นเลย หรือแม้แต่หมากสดก็ซื้อเคี้ยวตรงนั้นเหมือนกัน สถานที่ตรงนั้นก็เลยเป็นที่ชุมนุม เป็นที่พบปะกันในสังคมแถวนั้น ทั้งคนชราและเด็ก ก็สามารถซื้อได้ สำหรับเด็กนั้น ก็จะมีหมากหวานเหมือนกัน
สถานที่ในอินเดียนั้นเรามักจะเห็นน้ำหมากมากมาย ตามซอก ตามมุมต่างๆและตามฝาผนังก็ยังมีน้ำหมากติดอยู่ แผ่นดินในเมืองพาราณสีนั้นเต็มไปด้วยสีแห่งน้ำหมาก สีแห่งมิตรภาพ ในเมืองพาราณสีนั้นเป็นเมืองที่เคี้ยวหมากมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ชายจะเคี้ยวหมากแทบทุกคน ส่วนผู้หญิงนั้นส่วนมากจะพบในศาสนาอิสลาม ผู้หญิงอิสลามชอบเคี้ยวหมากมากกว่าผู้ชายในศาสนาเดียวกัน แต่สำหรับศาสนาฮินดูนั้นผู้ชายจะมากกว่าผู้หญิง เพราะว่าผู้หญิงเคี้ยวหมากนั้นเป็นกริยาที่ไมงาม นอกเสียจาก แต่งงานแล้วจึงจะเคี้ยวหมากได้ตามใจชอบ ผู้ชายไม่จำกัดวัย
หมากที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมี ๒ รส คือ
รสชาติที่ ๑ หมากรสหวาน เป็นหมากที่มีขายตามร้านค้าทั่วไป มีทั้งหมากแห้งและหมากสด หมากแห้งนั้นเป็นหมากที่บรรจุในซองฉีกซองแล้วสามารถเคี้ยวได้เลย เพราะมีส่วนผสมเรียบร้อยแล้ว ส่วนหมากสดนั้น โดยมากผู้คนจะเข้าแถวซื้อถ้ามีคนมาก เพราะเจ้าของร้านจะผสมให้ใหม่สดๆตรงนั้นเลย และสามารถห่อได้ด้วย คนส่วนมากชอบหมากสดมากกว่าหมากแห้ง.
รสชาติที่ ๒ หมากรสเมา เป็นหมากที่มีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าหมากประเภทนี้ ถ้าคนไม่เคยเคี้ยวหมาก ใหม่ๆจะรู้สึกว่ามึนเมาศรีษะ แต่สำหรับคนที่เคี้ยวเป็นประจำแล้ว เขาบอกว่าหมากชนิดนี้จะทำให้ไม่ง่วงนอน สมองปลอดโปร่ง หรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วนคนที่ทำงานจะชอบเคี้ยวหมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหมากประเภทนี้ แม้แต่คนไทยก็ยังชอบเคี้ยวหมากชนิดนี้เหมือนกัน บางคนเคี้ยวจนติดปาก ถ้ามีวันไหนไม่ได้เคี้ยวหมาก จะไม่ค่อยมีความสุข หงุดหงิด หรือรู้สึกว่าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง หมากชนิดนี่จะมีส่วนผสมของยาฉุนอยู่ด้วย หรือ ยาเส้นภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ซุรตี” จึงทำให้รู้สึกมึนเมาบางไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหมากก็จะซื้อเฉพาะยาเส้นมาผสมกับปูนขาว ขยี้ให้เข้ากันจากนั้นก็ตบด้วยฝ่ามือแล้วก็แบ่งกันนำมาอมในปาก เพียงแค่อมในปริมาณน้อยนิดเท่านั้น แต่ก็เหมือนกับว่ามีกำลังมากในการทำกิจการงานต่างๆ หรือแม้แต่นั่งขายของในร้านตัวเอง ก็สามารถเคี้ยวหมากไปด้วยก็ได้และมีความเพลิดเพลิน ทุกๆร้านส่วนจะต้องเคี้ยวหมากด้วยจึงจะมีความสุขในการทำงาน ถ้าไม่ได้เคี้ยวหมากก็จะต้องมีการดื่มจายหรือน้ำชานั่นเองแต่ว่ามีนมผสมอยู่ด้วย คนอินเคียชอบดื่มนมมากหมากรสเมานี้ถ้าเป็นหมากสดก็จะตกห่อละ ๕ รูปีขึ้นไป.
คนในเมืองพาราณสีนั้นชอบเคี้ยวหมากมากและพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก เป็นที่เชื่อกันว่า ใครที่ได้เคี้ยวหมากจากเมืองพาราณสีแล้วจะมีความสุข เพราะถือว่าหมากเมืองพาราณสีเป็นหมากที่อร่อย เป็นหมากที่เลิศรส และเป็นหมากที่มีชื่อสียงที่สุดมีการส่งไปขายยังรัฐต่างๆอีกด้วย แม้แต่ดาราดังหลายคนของอินเดียก็ยังเอ่ยปากชื่นชมหมากเมืองพาราณสี ประชาชนในอินเดียที่มีอายุประมาณ ๕๐ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่เคี้ยวหมากมากที่สุดโดยประมาณวันละ ๒๐ ครั้งขึ้นไปต่อวัน ส่วนวัยรุ่นหรือเด็กๆก็ลดลงมาเรื่อยๆตามอายุ
ส่วนผสมของหมาก
ส่วนผสมของหมากที่สำคัญมีอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ใบพลู, ผลหมาก, ปูนขาว, ยาเส้น, รากไม้, เปลือกต้นไม้, ผลไม้บางชนิด และอีกหลายๆชนิดผสมกัน

ห้ามุมมอง สองข้างทางอินเดีย

อากาศร้อนๆ ของเดือนมิถุนายน พระนิสิตหลายรูปจะเดินทางไปหาเรียนพิเศษเพิ่มเติม และถือโอกาสหนีร้อนไปด้วย บางรูปก็เดินทางกลับเมืองไทย ผมเองไม่ได้ไปไหน ว่างๆ ก็จะเดินทางไปนมัสการ ณ ธัมเมกขสถูป เมืองสารนาถอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งขณะนั่งรถไปสารนาถเห็นข้างทางก็เลยนึกขึ้นได้ถึงคำกล่าวของพระเดชพระคุณท่าน พระราชรัตนรังษี เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอินเดียเกี่ยวกับสองข้างทาง เราจะสังเกตเห็นตามเส้นทางนมัสการสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ ตำบล จะพบเห็นสิ่งบางอย่างนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น ห้ากองใหญ่ๆ คือ
ประเภทที่หนึ่ง กองอิฐ ในระหว่างสองข้างทางของการเดินทางในประเทศอินเดีย เราจะพบเห็นกองอิฐกองหินเป็นจำนวนมาก แม้แยกออกก็จะได้เป็นสองอย่างด้วยกัน ประการแรกกองหินที่วางอยู่เรียงรายตามริมทาง ประเทศอินเดียปัจจุบันกำลังทำการก่อสร้างถนนหลายเส้นสาย แม้แต่เส้นทางสายที่คณะผู้แสวงบุญใช้เดินทางไปกราบไหว้สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา จะเห็นอยู่เกือบตลอดเส้นทาง บ้างก็นำมาสร้างถนน บ้างก็นำมาก่อสร้างบ้านเรือน อิฐหินเหล่านี้เขาจะนำมาเป็นก้อนใหญ่ๆ โตๆ โดยรถบรรทุก แล้วใช้แรงงานคนในการทำให้เป็นก้อนเท่าที่ต้องการ โดยทุบเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย ส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคน ผมเคยสอบถามชาวอินเดียว่าทำไมไม่ใช้เครื่องจักร จะได้สะดวกและรวดเร็ว เขาตอบว่านี่เป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชาวบ้าน คนในท้องถิ่นจะได้มีงานทำ คนก็ไม่ตกงาน นับว่าเป็นคำตอบที่สุดยอดมากเลยทุกท่านว่าไหม? ถ้าท่านใดเคยเดินทางไปที่ถ้ำดงคสิริ เมืองคยา ระหว่างเส้นทางก่อนจะขึ้นถ้ำดงคสิริเราจะเห็นชาวบ้านมานั่งทุบหินกันเป็นจำนวนมาก. ประการที่สอง ก้อนอิฐ คล้ายกับอิฐแดงบ้านเรา (อิฐมอญ) ผู้แสวงบุญจาริกธรรมทุกท่าน เราไปยังสังเวชนียสถานจะเห็นสิ่งก่อสร้างโบราณวัตถุต่างๆ บ้างก็สมบูรณ์ บ้างก็ปรักหักพัง บ้างก็ทับถม บ้างก็กองเป็นกองๆ ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่อะไร มีสัณฐานรูปร่างอย่างไร สิ่งเหล่านี้แหละเป็นสิ่งชี้แสดงให้เห็น ให้รู้ว่าเป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเรา โดยการนำอิฐมาทำกุฎี วิหาร อุโบสถ กำแพง เจดีย์ จนมาถึงยุคปัจจุบัน ชาวอินเดียก็ยังนำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งดูแล้วมีลักษณะรูปร่างคล้ายกัน หากต่างกันก็เพียงขนาดเท่านั้น
ประเภทที่สอง กองดิน อย่างที่ทุกท่านรับทราบกันว่าอินเดียเป็นเมืองที่มีแหล่งอารยธรรมอันยาวนาน ศาสนาต่างๆ ส่วนมากจะกำเนิดที่ประเทศนี้ ศาสนาพุทธของเราก็เหมือนกัน ดังนั้นถ้าเราได้มาประเทศอินเดีย มานมัสการสังเวชนียสถาน มาท่องเที่ยว ก็จะเห็นสิ่งก่อสร้างมากมาย นับไม่ถ้วน ทำไมถึงกล่าวว่านับไม่ถ้วน เพราะว่ายังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ที่ทางกรมศิลป์อินเดียยังไม่ได้ขุดค้น ซึ่งเกี่ยวกับพุทธศาสนาก็มีมากมายหลายที่ เช่น สถูปเกศเรีย พื้นเมืองสาวัตถี เมืองกบิลพัสดุ์ใหม่ เป็นต้น เราจะเห็นกองดินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก ภายใต้กองดินเหล่านั้นคือสิ่งก่อสร้างโบราณวัตถุที่ยังรอการขุดค้น แม้แต่สถานที่ต่างๆ ที่เราได้ไปทำการกราบไหว้นั้น ที่เราเห็นเป็นรูปร่างในปัจจุบัน เมื่อก่อนล้วนถูกฝังอยู่ภายใต้แผ่นดินเสียส่วนใหญ่ จนกระทั่งมีการขุนค้นตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงทำให้เราได้รับทราบถึงแต่ละสถานที่ที่เราได้มาจาริกธรรมแสวงบุญฯ อีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจมากตามริมสองข้างทาง เป็นกองดินขนาดเล็กจะพบเห็นได้มากมีลักษณะสี่เหลี่ยมสูงประมาณ ๑ ศอก ทุกท่านคงจะสงสัย ผมเองก็มีความสงสัยเหมือนกัน มาทราบภายหลังว่าเขาเอาไว้ปลูกต้นไม้ เนื่องจากว่าเมื่อถึงฤดูฝน อินเดียเขตรัฐอุตตรประเทศ รัฐพิหาร จะมีที่ราบลุ่มเป็นส่วนมาก น้ำฝนก็มีจำนวนมากทำให้ท่วมต้นไม้ตายเป็นจำนวนมาก ทางบ้านเมืองก็เลยมีนโยบายการทำเป็นกองดินให้สูงเอาไว้ก่อนปลูกต้นไม้ นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกมากเพราะมีมากจนน่าสงสัยสำหรับผู้พบเห็น
ประเภทที่สาม กองคน อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมาก ประมาณ ๑,๔๐๐ ร้อยล้านกว่าคน การที่ประชากรมากอย่างนี้ ระบบสังคมจึงมีความคับคั่งแน่นหนา จริงอยู่พื้นที่ก็ใหญ่แต่ชาวอินเดียมักชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม และแยกออกกันเป็นหมู่บ้านของแต่ละศาสนา เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อเราเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ก็จะพบประชาชนตามท้องถนนเป็นจำนวนมาก บ้างก็เดิน บ้างก็ขี่จักรยาน บ้างก็นั่งรถประจำทาง และบางครั้งจะเห็นยืนกันเป็นกลุ่มใหญ่เลยทีเดียว ขึ้นชื่อว่าไทยมุงแล้ว ยังว่าสู้แขกมุงไม่ได้หรอก เพราะผู้เขียนเองมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องรถชนกัน วันหนึ่งได้เดินทางจากพุทธคยา มาเมืองพาราณสี ระหว่างทางมีรถยนต์ปะทะกับรถมอเตอร์ไซค์ ทุกท่านเชื่อไหมจราจรเส้นนั้นกลายเป็นอัมพาตไปเลย รถทุกคันไม่สามารถขยับตัวได้ ไม่ใช่เป็นเพราะรถเกิดอุบัติเหตุอย่างเดียวหรอก แต่เกิดจากจลาจลของชาวบ้านมามุงดูกันมากจนทำให้รถติดกันยาวเลย เมื่อชาวบ้านมาถึงทราบข่าวว่ารถยนต์ชนกับรถมอเตอร์ไซค์ในหมู่บ้าน ก็พากันตามหาผู้ขับรถยนต์ แต่ไม่เจอก็เลยพากันเผารถยนต์ทิ้ง ผู้เขียนเองก็ตกใจเหมือนกันกับเหตุการณ์ที่ได้พบเห็น ก็เลยสอบถามคนอินเดียที่สนิทกัน เขาก็อธิบายให้ฟังว่า ตามธรรมเนียมของชาวอินเดียแล้วเรื่องบางเรื่องตำรวจไม่สามารถมาเพื่อแค่คลายปัญหาได้เนื่องจากสถานีตำรวจอยู่ห่างจากจดเกิดเหตุ ชาวบ้านจึงได้ตัดสินก่อนคือเป็นการลงโทษ ชาวอินเดียโดยส่วนใหญ่จะใช้ กฎศาสนา นำก่อน ในการชี้ผิดชี้ถูกตามความเชื่อ ต่อมาก็เป็น กฎสังคม เพื่อคลี่คลายปัญหาโดยให้ผู้นำสังคม ผู้นำหมู่บ้านก่ายเกลี่ย แต่ถ้าไม่ได้ผลก็จะถึงเรื่องของ กฎหมาย เข้ามาบังคับใช้งานเพื่อพิจารณาปัญหา เหตุการณ์นี้ก็เหมือนกันชาวบ้านใช้กฎสังคมลงโทษก่อนเนื่องจากหาผู้รับผิดชอบการกระทำผิดไม่ได้ ผู้เขียนขอกล่าวเอาไว้ก่อนว่าเป็นบางพื้นที่เท่าที่เคยได้พบเห็นมา แต่กลุ่มหรือกองคนในอินเดียที่เราพบเห็นนั้นมีอีกมากมายที่เราจะเห็นได้เป็นประจำ จากการทะเลาะกันบ้างก็จะพากันมามุงดู หรือแม้แต่เห็นคนต่างชาติกำลังพูดคุยกับชาวอินเดีย เขาก็จะสนใจเข้ามาร่วมฟังด้วย ยิ่งคุยได้อรรถรสแล้วละก้อ ไม่ต้องห่วงว่าจะมีเพียงสิบ นับได้บางครั้งครึ่งร้อยเลยก็มี เพราะชาวอินเดียโดยส่วนมากเป็นคนมีลักษณะชอบการแสดงออก และอยากรู้อยากเห็น จึงทำให้ประเทศอินเดียมีนักปราชญ์มากมายตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
ประเภทที่สี่ กองฟาง สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่หลากหลายของชาวอินเดีย เพราะว่าอินเดียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่อีกประเทศหนึ่งที่ทุกท่านจะปฏิเสธไม่ได้เลย เรื่องของกองฟางก็เช่นกัน หลังฤดูกาลหลังการเก็บเกี่ยวของชาวบ้าน เมื่อว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ชาวบ้านก็จะนำฟางข้าวและใบอ้อย ที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวมาไว้ที่บ้านเพื่อนำไปมุงหลังคาบ้านเรือน หลังคายุ้งฉาง และคอกสัตว์ต่างๆ ที่สำคัญที่สุดฟางข้าวที่เกี่ยวเอามาเก็บไว้เป็นกองๆ หน้าบ้านนั้น เขายังเอามาสับให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล และก็หญ้าเพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น วัวและควาย เป็นต้น บางคนก็นำมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ประเภทที่ห้า กองมูล หลายท่านเมื่อเดินทางมาประเทศอินเดียเมื่อได้มีโอกาสเดินทางแต่เช้าตรู่ก็จะพบเห็นสิ่งที่น่าตกใจ และตื่นเต้นใจกับภาพสองข้างทาง คือการนั่งถ่ายอุจจาระริมถนน และกลางทุ่งนา จะพบเห็นได้มากเฉพาะเวลาพบค่ำ และเวลาเช้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกท่านรู้กันดีอยู่แล้วก่อนจะเดินทางมาอินเดีย แต่เรื่องกองมูลที่จะนำมากล่าวนี้ไม่ได้หมายถึงมูลอุจจาระ หากแต่เป็นมูลของสัตว์เพราะผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อการเลี้ยงชีพโดยเฉพาะชาวเกษตรกร
“กี่เช้าที่เราตื่น กี่คืนที่เราฝัน กี่วันแห่งชีวิตใครลิขิตใครเขียน ช่างเหมือนดังเทียนเล่มน้อย” เห็นแล้วน่าเพลิดเพลินใจ เด็กน้อยๆ หิ้วภาชนะใส่ของเดินตามท้องนา และริมทาง แสวงหาสิ่งของบางอย่างด้วยความสนุกตามประสาเด็ก ร้องเพลงกันบ้าง วิ่งแข่งกันบ้างเห็นแล้วน่าอิจฉาจัง เพียงแค่หวังจะได้มูลสัตว์ไปเอาไว้ที่บ้าน เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง สิ่งที่จะกล่าวนี้เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อว่างเว้นจากการเรียน การทำงาน ชาวบ้านส่วนใหญ่จะออกนอกบ้านเพื่อหาสิ่งของ หาผัก ผลไม้ มาไว้กินมื้อต่อไป แต่บางคนก็หิ้วภาชนะใส่ของเดินเก็บมูลวัว มูลควายตามทุ่งนา เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหารกิน คือแม่บ้านชาวอินเดียเมื่อว่างเว้นจากภารกิจต่างๆ ก็จะนำมูลสัตว์ที่เก็บมาได้แต่ละวัน มาคลุกเคล้ากับแกลบ รำ และฟางข้าว ใส่น้ำเล็กน้อย แล้วปั้นให้ก้อน ตากแดดให้แห้ง เท่านี้ก็สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิง ทดแทนถ่ายที่ราคาแพงได้ เมื่อนำมาติดไฟจะไม่ควันและติดไฟนานด้วย เห็นไหมล่ะ น่าสนใจอย่างมาก แล้วเราจะเห็นได้บริเวณหน้าบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนเลยทีเดียว จะยกเว้นก็เพียงแต่ในตัวเมืองเท่านั้นเอง
นี่แหละเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ผู้เขียนอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่สนใจ เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องลงทุนมาก แต่ให้ผลเกินคาด เป็นวิถีชีวิตที่ยังเหลือให้เราได้เห็น ที่รอคอยให้ทุกท่านได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง.

 

ผู้ติดตาม

ออนไลน์หน้านี้

free counters